05 Nov 2024

ก๊าซอุตสาหกรรมแบ่งเป็นกี่ประเภท
travel image

ก๊าซอุตสาหกรรมคือก๊าซที่ใช้อย่างแพร่หลายในเกือบทุกภาคอุตสาหกรรม เช่น การแพทย์ อาหารและยา วิทยาศาสตร์และการวิจัย อุตสาหกรรมการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ เมื่ออ้างอิงเอกสารข้อกำหนดการขนส่งทางถนนของประเทศไทย จัดทําโดย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมจะพบว่ามีการแบ่งประเภทก๊าซอันตราย สำหรับการขนส่ง ดังนี้
 

  • ก๊าซอัด (Compressed gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง มีความเป็นก๊าซ ทั้งหมดที่อุณหภูมิ -50 องศาเซลเซียส
    ก๊าซประเภทนี้รวมถึงก๊าซทุกชนิดซึ่งมีอุณหภูมิวิกฤตน้อยกว่าหรือ เท่ากับ -50 °C; 
  • ก๊าซเหลว (Liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่ทําการบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง มีบางส่วนที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า -50 องศา
    เซลเซียส ซึ่งมีความแตกต่างระหว่าง: ก๊าซเหลวความดันสูง (High pressure liquefied gas) หมายถึง ก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่า -50 °C
    และไม่เกิน +65 องศาเซลเซียส และ ก๊าซเหลวความดันต่ํา (Low pressure liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่า +65
    องศาเซลเซียส
  • ก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ํา (Refrigerated liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุสําหรับการขนส่ง ถูกทําให้เป็นของเหลวบางส่วนเนื่องจาก
    อุณหภูมิต่ํา
  • ก๊าซในสารละลาย (Dissolved gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง ถูกละลายในตัวทําละลายที่เป็นของเหลว
  • กระป๋องอัดสารที่ฉีดเป็นละอองลอยได้ (Aerosol dispensers) และภาชนะปิด (receptacles), ขนาดเล็กที่บรรจุก๊าซ (gas cartridge)
  • สิ่งของอื่นๆ ที่บรรจุก๊าซภายใต้ความดัน 
  • ก๊าซที่ไม่มีความดัน ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดพิเศษ

 

จากการสำรวจและสอบถามสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าก๊าซอุตสาหกรรมในประเทศสามารถแบ่งประเภทได้
ตามลักษณะสถานะก๊าซที่บรรจุสำหรับการขนส่ง โดยเป็นการแบ่งประเภทอ้างอิงการจัดหมวดหมู่สินค้าตามหลักสากลจากทางฝั่งยุโรป ซึ่งสอดคล้อง
กับการจัดประเภทก๊าซในเอกสารข้อกำหนดการขนส่งทางถนนของประเทศไทย แต่พิจารณาเฉพาะ 4 ประเภท ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1: ก๊าซอัด (Compressed gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง มีความเป็นก๊าซ ทั้งหมดที่อุณหภูมิ -50 องศา
    เซลเซียส ก๊าซประเภทนี้รวมถึงก๊าซทุกชนิดซึ่งมีอุณหภูมิวิกฤตน้อยกว่าหรือ เท่ากับ -50 °C เช่น ก๊าซอาร์กอนที่บรรจุในท่อ ก๊าซไฮโดรเจนที่บรรจุ
    ในท่อ ก๊าซฮีเลียมที่บรรจุในท่อ ก๊าซออกซิเจนที่บรรจุในท่อ
  • กลุ่มที่ 2: ก๊าซเหลว (Liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่ทําการบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง มีบางส่วนที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า
    -50 องศาเซลเซียส ซึ่งมีความแตกต่างระหว่าง: ก๊าซเหลวความดันสูง (High pressure liquefied gas) หมายถึง ก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่า
    -50 °C และไม่เกิน +65 องศาเซลเซียส และ ก๊าซเหลวความดันต่ํา (Low pressure liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤต สูงกว่า +65
    องศาเซลเซียส เช่น ก๊าซแอมโมเนียเหลว ก๊าซคลอรีน สารทำความเย็น เช่น refrigerant gas R32, R134A, R410, R404A, R407C, R125
  • กลุ่มที่ 3: ก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ํา (Refrigerated liquefied gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุสําหรับการขนส่ง ถูกทําให้เป็นของเหลวบางส่วน
    เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ เช่น ก๊าซอาร์กอนใน Liquid storage tank ก๊าซไนโตรเจนใน Liquid storage tank ก๊าซไฮโดรเจนใน Liquid storage
    tank ก๊าซไนตรัสออกไซด์ใน Liquid storage tank
  • กลุ่มที่ 4: ก๊าซในสารละลาย (Dissolved gas) หมายถึงก๊าซที่เมื่อบรรจุภายใต้ความดันสําหรับการขนส่ง ถูกละลายในตัวทําละลายที่เป็น
    ของเหลว เช่น ก๊าซอะเซทิลีนทีบรรจุในท่อโดยละลายอยู่ในสารละลายเช่นอะซิโตน หรือ DMF

 

การบ่งชี้คุณสมบัติของความเป็นอันตรายของก๊าซแต่ละประเภท
การแบ่งประเภทก๊าซ เป็นการแยกประเภทตามวิธีการบรรจุสินค้าอันตรายซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของการขนส่งทั้งทางรถยนต์และรถไฟ
(ADR/RID classification code) โดยก๊าซแต่ละประเภทจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม 1-4 กลุ่มตามตัวเลข นอกจากนี้จะมีตัวอักษรย่อระบุอยู่หลังตัวเลข
ซึ่งเป็นการบ่งชี้คุณสมบัติของความเป็นอันตรายของก๊าซแต่ละประเภท

  • ตัวย่อ A คำจำกัดความ Asphyxiant ความหมาย ก๊าซที่เมื่อสูดดมไปแล้วทำให้หายใจไม่ออก (suffocate)
  • ตัวย่อ O คำจำกัดความ Oxidizing ความหมาย ก๊าซที่มีคุณสมบัติออกซิไดซ์ หรือมีออกซิเจนอยู่ในปริมาณที่จะช่วยให้เกินการลุกไหม้ของวัสดุอื่น
    ได้ดีกว่าอากาศ
  • ตัวย่อ F คำจำกัดความ Flammable ความหมาย ก๊าซไวไฟ
  • ตัวย่อ T คำจำกัดความ Toxic ความหมาย ก๊าซเป็นพิษ มีความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ตัวย่อ C คำจำกัดความ Corrosive ความหมาย ก๊าซกัดกร่อน
  • ตัวย่อ CO คำจำกัดความ Corrosive, Oxidizing ความหมาย ก๊าซกัดกร่อนและมีความเสี่ยงรองออกซิไดซ์
  • ตัวย่อ FC คำจำกัดความ Flammable, Corrosive ความหมาย ก๊าซไวไฟและมีความเสี่ยงรองกัดกร่อน
  • ตัวย่อ TF คำจำกัดความ Toxic, Flammable ความหมาย ก๊าซเป็นพิษและมีความเสี่ยงรองไวไฟ
  • ตัวย่อ TC คำจำกัดความ Toxic, Corrosive ความหมาย ก๊าซเป็นพิษและมีความเสี่ยงรองกัดกร่อน
  • ตัวย่อ TO คำจำกัดความ Toxic, Oxidizing ความหมาย ก๊าซเป็นพิษและมีความเสี่ยงรองออกซิไดซ์
  • ตัวย่อ TFC คำจำกัดความ Toxic, Flammable, Corrosive ความหมาย ก๊าซเป็นพิษและมีความเสี่ยงรองไวไฟ กัดกร่อน
  • ตัวย่อ TOC คำจำกัดความ Toxic, Oxidizing, Corrosive ความหมาย ก๊าซเป็นพิษและมีความเสี่ยงรองออกซิไดซ์ กัดกร่อน

 

เอกสารอ้างอิง

ข้อกำหนดการขนส่งทางถนนของประเทศไทย จัดทําโดย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
https://legal.dlt.go.th/1stblood/file/430_36.pdf

EIGA Classification and labelling guide in accordance with EC regulation 1272/2008 (CLP regulation) Document 169/24

 

บทความเรียบเรียงโดย ดร. พณิดา จิรัฐิติเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการกล่มอุตสาหกรรมก๊าซ และผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท จิรัฐอินดัสเทรียล จำกัด